ในตลาดหุ้นสิ่งที่มีผลต่อราคาซื้อขาย ก็คือ สภาวะเศรษฐกิจ ค่าเงิน ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน ในตลาดโลก หรือรวมไปถึง ประสิทธิภาพการบริหารบริษัท เฉกเช่นเดียวกัน สิ่งที่ผลต่อราคาบิทคอยน์ ก็ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ แต่เพราะความแตกต่างอย่างหนึ่ง คือ ธนาคารพาณิยช์ยังไม่รับรองบิทคอยน์ จึงทำให้ยังไม่มีหลักทรัพย์ใดมาค้ำประกันตัวมันได้ ไม่เหมือนกับ เงินสดที่สามารถใช้ทองคำค้ำประกัน ซึ่งกันและกันได้ ดังนั้น จึงทำให้มีปัจจัยอื่นๆที่อยู่รายรอบตัว ที่ทำให้มีผลทำให้ราคาของบิทคอยน์เปลี่ยนแปลง มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง ที่เป็นกลไลทำให้ราคาบิทคอยน์เคลื่อนไหว
1. คนขุดเหมือง หรือที่เรียกว่า Miner หรือภาษาชาวบ้านก็คือ คนที่ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการขุดเหรียญบิทคอยน์(การขุดก็คือตรวจสอบรหัสการส่งเงิน) ซึ่งระบบ Cryptocurrency นั้น จะใช้การเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กันเอง แบบ P2P (เชื่อมต่อกันแบบพวกโหลดบิททอร์เรนต์) ซึ่งบิทคอยน์เริ่มจากตรงนี้ การส่งเงินระหว่างกันจะส่งผ่านผู้ใช้คนอื่นๆเป็นทอดๆ จนกว่าจะถึงผู้รับปลายทาง และแต่ล่ะการส่งบิทคอยน์สามารถตรวจสอบผ่าน blokchain หลังจากที่มีการส่งเงินกันเสร็จแล้ว คนขุดเหมืองก็จะได้รับบิทคอยน์เป็นรางวัล
คนขุดเหมืองเองก็นเป็นคนสำคัญแรกๆที่มีการใช้จ่ายผ่านบิทคอยน์ โดยเฉพาะการซื้อเครื่องหรืออุปกรณ์ในการขุด รวมถึงการใช้เงินสดในการซื้อบิทคอยน์ หรือแลกเปลี่ยนบิทคอยน์เป็นเงินสด ซึ่งก็จะไปสู่ตัวแปรอีกหนึ่ง
2. ผู้ซื้อขาย (Trader) นักเก็งกำไร หรือนักลงทุน เปรียบเทียบก็เหมือนกับผู้ซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้น อันนี้ซื้อขายเงินสกุลดิจิตอลต่างๆ เมื่อมีการซื้อขายก็ทำให้ใช้จ่ายเงินนั้นๆ หมุนเวียนเป็นระบบ และราคาของค่าเงินก็มีขึ้นลง ตามหลักอุปสงค์/อุปทาน
3. ร้านค้า ตลาดซื้อขาย หรือ พ่อค้าคนกลาง อาจนะมองว่าเป็นจุดศุนย์รวมขอผู้ใช้จ่ายผ่านบิทคอยน์ ก็ไม่ผิด เพราะกลุ่มนี้ต้องการให้ผู้ที่มีบิทคอยน์มาจับจ่ายใช้สอยกับตัวเอง โดยเริ่มจากการนำเงินสดมาซื้อบิทคอยน์ หรือการให้บริการรับชำระด้วยบิทคอยน์แทนเงินสด หรือตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนต่างๆ ที่ได้รายได้จากค่าธรรมเนียมการเทรด เมื่อมีคนมาซื้อบิทคอยน์เพื่อขายเก็งกำไร
4. คนที่กักบิทคอยน์ กลุ่มคนกลุ่มนี้ คล้ายๆกับผู้ซื้อขาย แต่จะเป็นประมาณว่า เก็บไว้จนกว่าราคาจะขึ้นมามากจริง ก่ะว่าจะไม่ใช้เลย หรือเก็บจนอาจจะลืม หรืออีกกรณีคือบิทคอยน์ที่ล่องลอยอยู่ใน blockchain ที่เกิดจากการทำธุรกรรมผิดพลาด เพราะบิทคอยน์ได้ถูกกำหนดจำนวนไว้แล้ว เมื่อมีจำนวนที่เกิดจากการทำธุรกรรมผิดพลาด ซึ่งไม่สามารถดึงกลับมาได้ ก็จะทำให้จำนวนบิทคอยน์ลดลงไปอีก ซึ่งในอนาคตก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่า จะมีจำนวนที่สูญหายเท่าไหร่
5. สุดท้าย และท้ายสุด ก็คือผู้บริโภคทั่วๆไป ที่ใช้บิทคอยน์ซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งอาจจะเป็นใครก็ได้ ตั้งแต่ 1- 4 อาจเป็นคนๆเดียวกันก็ได้
กล่าวโดยสรุปแล้วเมื่อระบบการใช้จ่ายด้วยบิทคอยน์เริ่มขับเคลื่อน มันก็ทำงานต่อด้วยกลไกของมันเอง โดยมีคนเป็นตัวขับเคลื่อน เมื่อมีการใช้จ่ายอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะด้วยการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินสด หรือแลกเปลี่ยนกับเงินดิจิตอลสกุลอื่น มันก็มีผลต่อเนื่องกันไปเป็นทอดๆ ยิ่งทำให้มันมีมูลค่ามากขึ้น ราคาก็มีการขึ้นลงตามความต้องการของผู้ใช้ด้วยเหมือนกัน มันก็เปรียบเสมือนกับ เงิน หรือ ทองคำ นั่นเอง เพียงแต่ว่ามันเป็นดิจิตอล ยังสัมผัสด้วยมืออุ่นๆของเราไม่ได้
ผมสรุปความแบบสั้นๆนะครับ สำหรับใครจะอ่านตัวเต็ม ก็ที่นี่เลยครับ cointelegraph
Sign up here with your email
ConversionConversion EmoticonEmoticon