collectcoineasy

collectcoineasy

เทคนิคการเทรดซื้อขายบิทคอยน์

ไม่ว่าการเทรดซื้อขายหุ้น หรือบิทคอยน์ ก็สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ผมได้ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเจอบทความนี้เข้า ผมว่าคนที่ไม่มีความรู้ทางด้านการกราฟ หรือทิศทางของราคาบิทคอยน์ อ่าน 1-2 ครั้ง ก็เข้าใจได้ครับ บทความมีทั้งหมด 3 ตอน ผมรวบรวมไว้ในนี้ที่เดียวเลย จะได้อ่านได้ในหน้าเดียว ไม่ต้องเปิดหลายหน้า ส่วนตอนที่ผมจะเน้นสำหรับทุกคนเลยคือตอนที่ 3 ครับ สำคัญมากๆ ถ้าทุกคนจำได้จนขึ้นใจ จะสามารถทราบได้ว่าแนวโน้มราคากำลังจะไปทางไหน ทำให้เราสามารถที่จะตัดสินใจซื้อหรือขายได้ถูกต้อง และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยากให้ทุกคนนำมาใช้ร่วมในการวิเคราะห์คือ ปริมาณการซื้อขาย ( Volume ) ทุกๆการเปลี่ยนแปลง จะมีปริมาณการซื้อขายมาหนุนด้วยเสมอ

ตอนที่ 1 มองแนวโน้มให้ออก

หลักการมองแนวโน้ม เริ่มจากการมองเทรนด์ให้ออกก่อนเสมอ เทรนด์ในตลาดจะมีแค่ 3 แบบ

Up Trend   แบบขาขึ้น จะวิ่งขึ้นอย่างเดียว   (เหมาะกับการเข้าเทรด)
Down Trend แบบขาลง จะวิ่งลงอย่างเดียว (เหมาะกับการเข้าเทรด)
Sideways Trend แบบขนานเคลื่อนตัวไปทางด้านข้างแบบฟันปลา ขึ้นๆลงๆ พูดง่ายๆกราฟวิ่งไม่สวย ไม่มีแนวโน้ม (ตลาดช่วงนี้ นักลงทุนมักจะขาดทุนเสมอๆ) sideways แยกออกได้เป็น sideways ในช่วง (พักตัว) เทรนด์ขาขึ้น sideways ในช่วง(พักตัว)เทรนด์ขาลง
เมื่อมองแนวโน้มแล้วรู้ว่าแบบนี้คือ ขึ้น ลง หรือด้านข้างแล้ว ต่อมาก็มาเรียนรู้การเริ่มสร้างแนวโน้ม

แนวโน้มขาขึ้น Up Trend จะขึ้นแบบค่อยๆขึ้นไปก่อนแล้วพักตัว (เราเรียกว่า HL) แล้วขึ้นไปต่อ
ทำแนวโน้มสูงขึ้น (เราเรียกว่า HH )

แนวโน้มขาลง Down Trend จะลงแบบค่อยๆลงไปก่อนแล้วพักตัว (เราเรียกว่า LH) แล้วลงไปต่อ
ทำแนวโน้มต่ำลง (เราเรียกว่า LL )


ต่อมาก็มาถึงการฝึกหัดลากๆ ขีดๆ ยิ่งฝึกลากบ่อยๆ ยิ่งมองภาพรวมตลาดง่ายขึ้น

ในเทรนด์ขาขึ้น จะเริ่มจาก ต่ำสุดไปสูงใหม่ ได้สูงใหม่แล้วก็จะมีการ (พักตัว) ลงมาทำฐาน (เรียกว่า HL) เมื่อรู้แล้วว่าพักตัวก็จะเริ่มลากเทรนด์ขาขึ้นได้ 

ในเทรนด์ขาลง จะเริ่มจาก สูงสุดไปต่ำใหม่ ได้ต่ำใหม่แล้วก็จะมีการ (พักตัว) ขึ้นไปทำฐาน (เรียกว่า LH) เมื่อรู้แล้วว่าพักตัวก็จะเริ่มลากเทรนด์ขาลงได้ 

ส่วนการลากในกรอบ sideways นั้น จะมีหลายแบบด้วยกัน แบบขนาน แบบสามเหลี่ยม แบบกว้างไปแคบ บีบตัว ฟันปลา มีหลายรูปแบบ


เทรนด์ขาขึ้นสามารถลากเทรนด์ ได้สามช่วงเวลาคือ เทรนด์ขาขึ้นระยะสั้น  เทรนด์ขาขึ้นระยะกลาง
เทรนด์ขาขึ้นระยะยาว 

เทรนด์ขาลงสามารถลากเทรนด์ ได้สามช่วงเวลาคือ เทรนด์ขาลงระยะสั้น เทรนด์ขาลงระยะกลาง เทรนด์ขาลงระยะยาว 

ส่วนกรอบ sideways ไม่ควรเข้าเทรด เสียเวลานานกว่าจะหลุดกรอบ ส่วนใหญ่แล้วมักจะคืนกำไร (ขาดทุน) เป็นส่วนใหญ่ วิธีมองกรอบ รอการทะลุกรอบได้แล้วมีแนวโน้มขึ้นหรือลงค่อยพิจารณาซื้อขาย 

ในเทรนด์ขาขึ้นและขาลงนั้นจะมีแนวรับและแนวต้านเสมอ ๆ อะไรคือแนวรับแนวต้าน
แนวรับ (Support) คือกราฟราคาวิ่งลงมาทำฐานแล้วลงต่อไปไม่ได้
แนวต้าน (Resistance) คือกราฟราคาวิ่งขึ้นไปชนทำฐานแล้ววิ่งขึ้นไปต่อไม่ได้

ในเทรนด์ขาขึ้นนั้นกราฟจะวิ่งขึ้นไปจนสุดจนกว่าจะลง รู้ได้ไงว่าลง เมื่อลากเทรนด์ขาขึ้นแล้วหลุดเทรนด์ขาขึ้นนั้นแล้วก็จะลง (เปลื่ยนทิศทาง) 
ในเทรนด์ขาลงนั้นกราฟจะวิ่งลงไปจนสุดจนกว่าจะขึ้น รู้ได้ไงว่าขึ้น เมื่อลากเทรนด์ขาลงแล้วหลุดเทรนด์ขาลงนั้นแล้วก็จะขึ้น (เปลื่ยนทิศทาง) 

ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อมีเทรนด์จนหมดเทรนด์ มักจะเกิด sideways ก่อนเสมอๆ เปรียบเสมือนการวิ่งมานานๆ แล้วเหนื่อยก็เลยต้องหยุดพัก (เกิด sideways) เมื่อลากกรอบ sideways ได้หลุดกรอบไปแล้วก็จะวิ่งไปต่อ (แสดงว่าหายเหนื่อยแล้ว)


ตอนนี้มีความรู้เรื่อง TREND LINE แล้วก็แนวรับแนวต้าน เทรนด์ขาขึ้นขาลง ต่อไปก็ลองวิชากันครับ

เมื่อเกิดเทรนด์ขาขึ้น แล้วลงมารับที่เส้น (แนวรับ) ลากเทรนด์ขาขึ้นได้แล้ว สามารถเป็นจังหวะเข้าซื้อ 
เมื่อเกิดเทรนด์ขาลง แล้วขึ้นมาต้านที่เส้น (แนวต้าน) ลากเทรนด์ขาลงได้แล้ว สามารถเป็นจังหวะเข้าขาย ไม่ว่าจะเทรดช่วงเวลาไหนก็ตาม 1m 5m 15m 30m 1h 4h 1d ทุกช่วงเวลามีเทรนด์เสมอ อยู่ที่เราแล้วว่ามองแนวโน้มออกหรือยัง…

และทุกช่วงเวลาไม่ว่าจะเกิดเทรนด์ขาขึ้น เทรนด์ขาลง เมื่อขึ้นแล้วก็จะขึ้นเป็นรอบจนหมดรอบ เมื่อเกิดเทรนด์ขาลงก็จะลงจนหมดรอบ คือควรเทรดเป็นรอบๆ ไปครับ

เทรนด์สามารถบอกจังหวะเข้าซื้อขายได้ตามระดับแนวรับแนวต้าน 
เทรนด์สามารถบอกจังหวะหมดเทรนด์ของขาขึ้นขาลง ของรอบนั้นๆ แล้วช่วยให้มองภาพรวมได้ง่ายขึ้น 
เทรนด์ยังช่วยให้ขาดทุนได้น้อยลง เมื่อรู้ว่าเข้าเทรดผิดทาง (สำคัญต้องมองแนวโน้มให้ออก รู้ว่าผิด ทางก็มีวินัยโดยการกล้า cut loss) 

ความชันของเทรนด์ขึ้นหรือลงนั้น ยิ่งชันมากยิ่งหลุดเทรนด์เร็ว ยิ่งชันน้อยยิ่งวิ่งขึ้นลงนาน เมื่อลาก
เทรนด์แล้ว ฝึกซูมกราฟ มองภาพกว้างด้วยครับว่าเราเล่นยังไง บางครั้งมีเทรนด์แต่ภาพใหญ่เป็น sideways ก็มี

ตอนที่ 2 รู้แนวรับ แนวต้าน

แนวรับ Support บอกถึงการที่ราคาลงมาที่แนวรับนั้นๆ แล้วแนวรับนั้นรับอยู่เลยดีดกลับขึ้นไปต่อ ส่วนแนวต้าน Resistance บอกถึงการที่ราคาวิ่งขึ้นไปชนแนวต้านนั้นๆ แล้วแนวต้านนั้นต้านอยู่เลยดีดกลับลงไปต่อ เรียกกันง่ายๆ แนวรับเพื่อไม่ให้ลงต่อ แนวต้านเพื่อไม่ให้ขึ้นไปต่อ

แนวรับ แนวต้าน สามารถบอกถึงเป้าหมายในอนาคตได้ คือ อดีตเคยขึ้นไปเป็นแนวต้านตรงไหน อนาคตก็จะขึ้นไปที่แนวต้านเดิมที่เคยขึ้น เช่นเดียวกัน อดีตเคยลงไปตรงไหนเป็นแนวรับ อนาคตก็จะลงไปที่แนวรับเดิมที่เคยลงไปถึง เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นรอบๆของการขึ้น ลง อดีตเคยเป็นยังไงอนาคตกราฟก็จะวิ่งไปที่เดิมที่เคยขึ้นและลงเสมอ ๆ

Double top เกิดจากการที่แนวต้าน (อดีต) และแนวต้านปัจจุบันมาชนที่เดียวกันมักจะดีดตัวกลับลงแรงๆ เสมอ คล้ายๆ กับตัว M บางครั้งจะเป็นตัว M หางยาว


Double bottom เกิดจากการที่ แนวรับ (อดีต) และแนวรับปัจจุบันมาชนที่เดียวกันมักจะดีดตัวกลับขึ้นแรงๆ เสมอๆ คล้ายๆ กับตัว W บางครั้งจะเป็นตัว W หางยาว



การหาจุดเข้าซื้อ ขาย โดยการใช้ แนวรับ แนวต้าน เข้ามาช่วย
เมื่อทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ เรียกว่า break out ซื้อ
เมื่อทะลุแนวรับลงมาได้ เรียกว่า  break out ขาย

หลังจากที่รู้การลากเส้นแนวโน้มไปแล้ว เราจะเอาการลากเส้นแนวโน้ม
มาผสมกับการหาจังหวะเข้าซื้อ ขายที่ปลอดภัย

เริ่มแรกปลอดภัยสุด พึ่งเกิดแนวโน้มขาขึ้นแล้วมีจังหวะ break out ทะลุแนวต้าน (อดีต) ขึ้นไปได้ เป็นจังหวะซื้อที่มักจะถูกทางเสมอๆ
พึ่งเกิดแนวโน้มขาลงแล้วมีจังหวะ break out ทะลุแนวรับ (อดีต) ลงไปได้ เป็นจังหวะขายที่มักจะถูกทางเสมอ ๆ

ปลอดภัยน้อยลงมา คือช่วงที่ขึ้นไปสูงและไปต่ำแล้วในแนวโน้มขาขึ้นและขาลง เรามาไม่ทันในการทะลุ (เกิด break out) ครั้งก่อนๆ (ตกรถ) ไปเข้าจังหวะใกล้หมดรอบแนวโน้มของขาขึ้นขาลงนั่น ต้องรู้และพิจารณาเสมอๆว่า เรามาซื้อขายสูงและต่ำเกินไปต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยการเข้าเร็วออกเร็วแล้วมองหาเป้าหมาย (TP) ในอดีตที่เคยขึ้นลงไปที่ระดับราคาไหน (แนวรับ แนวต้าน ในอดีต)



การใช้ แนวรับ แนวต้าน ในการหา stop loss วินัยเรื่องนี้ถือว่าสำคัญที่สุด

ยกตัวอย่าง กองทุน กบข. ที่เอาเงินภาษีประชาชนไปลงทุนแล้วขาดทุนย่อยยับ ต่อให้ผู้บริหารเก่งแค่ไหนในการบริหาร แต่ไม่กล้ายอมที่จะตัดขาดทุนปล่อยไป คิดว่าเดี๋ยวก็ขึ้นก็เลยเสียหายจนถึงทุกวันนี้ เพราะขาดวินัยที่จะกล้า stop loss ขาดทุนแต่ต้นๆ แล้วไปเริ่มต้นใหม่ในการบริหารเงินทุน  นี่คือตัวอย่างของการไม่ยอม stop loss

การเข้าเทรดทุกครั้ง เราต้องคิดเสมอด้วยเหตุและผล ว่าเราเทรดเพราะอะไร วางแผนในเทรดครั้งนี้ยังไง เป้าหมายตรงไหน และจุดยอมรับการขาดทุนอยู่ตรงไหน นึกเสมอว่าเข้าเทรดต้องชนะตลาด เมื่อแพ้ก็ยอมมอบตัวให้เร็ว เมื่อชนะตลาดก็รีบเก็บกำไรให้ได้ 
รู้ว่าตอนไหนควรอยู่เฉย ๆ ตอนไหนควรเล่นสั้น ตอนไหนควรเก็บยาว

จะเห็นว่าแค่เรารู้พื้นฐาน การลากเส้นและแนวรับแนวต้าน สามารถหาได้ทั้งจุดเข้าซื้อ ขาย เป้าหมาย จุดยอมขาดทุน

ฝึกมองภาพกว้างให้ออก โดยไปมองที่ระยะยาว มาถึงระยะสั้น บางครั้ง 15m หาเป้าหมายไม่เจอก็ลองไปเปิดกราฟ 30m 1h 4h เพื่อหาเป้าหมาย (แนวรับแนวต้านที่เคยขึ้นลงมาก่อน)

การลากเส้นเทรนด์ก็เช่นกัน ต้องรู้ว่าหลุดเทรนด์เปลื่ยนแนวโน้มแล้ว มองให้ออก ฝึกบ่อยๆ จะยิ่งง่ายขึ้นไปเอง  การเทรดแต่ละครั้งนั่น ควรเล่นเป็นรอบ ๆ จะสังเกตุเห็นว่าเมื่อขึ้น แนวโน้มที่เราลากเทรนด์ก็ลากได้จนหลุดเทรนด์ขาขึ้น เมื่อรู้ว่าหมดคือหมดรอบของการขึ้น

เมื่อรู้ว่ารอบ sideways ลากกรอบ sideways ให้ลากที่กรอบแนวรับแนวต้านนั้นๆ การขึ้น การลง และด้านข้าง จะเห็นว่าจะวิ่งเป็นรอบๆ ไป บางครั้งเทรดง่ายเพราะกราฟวิ่งขึ้นตาม เทรนด์ขึ้นเทรนด์ลง บางครั้งเล่นยากเพราะกราฟสวิง (sideways)

เอาทุกอย่างทั้งสองขั้นตอนมาผสมกันครับ แค่นี้ก็สามารถทำกำไรได้แล้ว




ตอนที่ 3 ฝึกลากรูปแบบต่างๆ

หลังจากที่ฝึกหัดการมองเทรนด์แนวโน้มให้ออกแล้ว ก็เริ่มไปฝึกการมองหาแนวรับ-แนวต้าน
รู้จักกันดีแล้วก็เริ่มมองหาจังหวะเข้าซื้อขาย ฝึกกันบ่อย ๆ ครับ มองหาให้เจอบ่อย ๆ
นานๆไป จะทำให้เรามองภาพได้เร็วขึ้นและมองหาจังหวะได้ดีกว่านักลงทุนคนอื่น

ต่อไปก็มารู้จักรูปแบบจากการใช้เส้น trend line ในการลากรูปแบบต่างๆที่ฝรั่งเค้าเรียกว่า chart patterns

เราจะมาฝึกลากรูปแบบแรก คือ symmetrical triangle เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่สมดุลย์กัน
ลักษณะจะลากเอียงขาขึ้นและขาลงได้เอียงพอๆกัน

ในกรอบสามเหลี่ยมนั้นจะเห็นว่าเปิดกว้างแล้วค่อยๆ เล็กลงจนทำมุมเป็นสามเหลี่ยม
เป็นการเล่นราคากันระหว่างแรงซื้อและแรงขายที่ค่อยๆ บีบตัวจนเกิดรูปแบบดังกล่าว

เมื่อการบีบตัวในกรอบสามเหลี่ยมแคบลง โอกาสที่จะเกิดการระเบิดของราคาก็ยิ่งสูงขึ้น
เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมได้ (break out) กราฟก็จะกลับมาวิ่งแรงอีกครั้ง

อธิบายแบบง่ายๆ คือ รอให้ราคาซื้อราคาขายวิ่งในกรอบสามเหลี่ยมจากกว้างแล้วบีบตัวไปแคบ
ทะลุได้เมื่อไหร่แล้วค่อยพิจารณาซื้อขาย (การทะลุได้ คือการระเบิดที่เกิดจากการบีบตัวของราคาซื้อราคาขายนั่นเอง)

Symmetrical triangle มีแบบขาขึ้นและขาลง
และยังสามารถหาเป้าหมาย (target) ของรูปแบบนี้ได้ เป็นเป้าหมายระยะสั้น (ใช้หลักความน่าจะเป็น) ดูจากรูป

พื้นฐานจากรูปแบบนี้มาจากการรู้จักเทรนด์ขาขึ้น ขาลง ด้านข้าง ลากเป็นก็สามารถหารูปแบบนี้ได้ 
มักจะเกิดขึ้นให้เห็นบ่อยๆ


รูปแบบต่อไปคือ
Descending triangle ขาลง เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่สามารถลาก trend line ได้เทรนด์ขาลงหนึ่งเส้น แล้วลากเส้นตรงในแนวนอนได้อีกหนึ่งเส้น
เมื่อลากสองเส้นนี้ได้แล้วก็คือ กรอบสามเหลี่ยมของขาลง (descending triangle downtrend)

จากในรูปจะสังเกตุเห็นว่า เมื่อลากกรอบสามเหลี่ยมขาลงได้แล้วจะมีการบีบตัวในกรอบยิ่งแคบมาก
โอกาสที่จะระเบิดตัวของราคาลงต่อยิ่งมีโอกาสสูงมากขึ้น

ส่วนในกรอบสามเหลี่ยมขาลงนั่น จะสังเกตุเห็นของการลากเส้นตรง
บางครั้งอาจจะการเกิด double bottom หรือ triple bottom หลอก (false) เกิดขึ้น
แล้วราคาดีดตัวลงไปต่อ  จะเห็นว่าไม่ว่ารูปแบบและระบบอะไรก็ตามมักมีหลอกให้เห็นเสมอ ๆ
เราควรใช้เครื่องมือกรองกราฟหลายๆชั้นเพื่อหาจังหวะที่ดีที่สุด และเมื่อผิดทางต้องกล้าที่ stop loss


รูปแบบต่อไปคือ
Ascending triangle ขาขึ้น เป็นรูปแบบสามเหลี่ยมที่สามารถลาก trend line ได้เทรนด์ขาขึ้นหนึ่งเส้นแล้วลากเส้นตรงในแนวนอน (ด้านบน) ได้อีกหนึ่งเส้น

เมื่อลากสองเส้นนี้ได้แล้วก็คือกรอบสามเหลี่ยมของขาขึ้น (ascending triangle uptrend)
จากในรูปจะสังเกตุเห็นว่า เมื่อลากกรอบสามเหลี่ยมขาขึ้นได้แล้วจะมีการบีบตัว
ในกรอบยิ่งแคบมาก โอกาสที่จะระเบิดตัวของราคาขึ้นต่อยิ่งมีโอกาสสูงมากขึ้น

ส่วนในกรอบสามเหลี่ยมขาขึ้นนั่น จะสังเกตุเห็นของการลากเส้นตรง บางครั้งอาจจะการเกิด double top หรือ triple top หลอก (false) เกิดขึ้น แล้วราคาดีดตัวขึ้นไปต่อได้


รูปแบบ wedges มีด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. Falling wedges (เกิด bullish) แบ่งได้อีกสองรูปแบบ คือ ในช่วงการเกิดของขาขึ้นและขาลง


falling wedges (เกิด bullish) ของในช่วงขาขึ้น จะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนด์ขาขึ้น (ช่วงพักตัวของเทรนขาขึ้น)
เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมขึ้นไปต่อได้คือ การเกิด break out ของ falling wedge in an uptrend (bullish) แล้วจะวิ่งขึ้นไปต่อ

falling wedges (เกิด bullish) ของในช่วงขาลง จะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนด์ขาลง (ช่วงพักตัวของปลายเทรนขาลง) เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมขึ้นไปต่อได้คือการเกิด break out ของ falling wedge in a downtrend (bullish) แล้วจะวิ่งเปลื่ยนทิศจากขาลงไปเป็นขาขึ้น


2. Rising wedges (เกิด bearish) แบ่งได้อีกสองรูปแบบคือ ในช่วงการเกิดของขาขึ้นและขาลง

Rising wedges (เกิด bearish) ของในช่วงขาขึ้น จะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนด์ขาขึ้น (ช่วงพักตัวของปลายเทรนขาขึ้น) เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมลงมาได้คือ การเกิด break out ของ rising wedge in an uptrend (bearish) แล้วจะวิ่งเปลี่ยนทิศจากขาขึ้นไปเป็นขาลง

Rising wedges (เกิด bearish) ของในช่วงขาลง จะสามารถลากกรอบสามเหลี่ยมได้ในช่วงเทรนขาลง (ช่วงพักตัวของเทรนขาลง)
เมื่อทะลุกรอบสามเหลี่ยมลงไปต่อได้คือการเกิด break out ของ rising wedge in a downtrend (bearish) แล้วจะวิ่งลงไปต่อ


รูปแบบ Rectangles มีรูปแบบด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. Rectangle uptrend (เกิด bullish) เป็นรูปแบบเส้นขนานกันสองเส้นในแนวโน้มขาขึ้น (ช่วงพักตัว)
เมื่อลากกรอบเส้นขนานได้แล้วหลุดกรอบได้เกิด break out แล้วขึ้นต่อ



2. Rectangle downtrend (เกิด bearish) เป็นรูปแบบเส้นขนานกันสองเส้นในแนวโน้มขาลง (ช่วงพักตัว)
เมื่อลากกรอบเส้นขนานได้แล้วหลุดกรอบได้เกิด break out แล้วลงต่อ




รูปแบบ Flags & Pennants 

1. รูปแบบ Flags จะเป็นรูปแบบธง (ขนานด้านข้าง) จะเกิดช่วงพักตัวของแนวโน้ม มี 2 แบบคือ

1.1 ขาขึ้น (uptrend) เมื่อเราลากเส้น trend line ได้รูปธง (แบบขนานด้านข้าง) ทะลุขึ้นไปได้เรียกว่า
 break out วิ่งขึ้นไปต่อ



1.2 ขาลง (downtrend) เมื่อเราลากเส้น trend line ได้รูปธง (แบบขนานด้านข้าง) ทะลุลงไปได้เรียกว่า break out วิ่งลงไปต่อ




2. รูปแบบ Pennants จะเป็นรูปแบบ ธงสามเหลี่ยม จะเกิดช่วงพักตัวของแนวโน้ม มี 2 แบบคือ

2.1 ขาขึ้น (uptrend) เมื่อเราลากเส้น trend line ได้รูป ธงสามเหลี่ยม ทะลุขึ้นไปได้ เรียกว่า break out
วิ่งขึ้นไปต่อ



2.2 ขาลง (downtrend) เมื่อเราลากเส้น trend line ได้รูป ธงสามเหลี่ยม  ทะลุลงไปได้เรียกว่า break out วิ่งลงไปต่อ



รูปแบบ Head and Shoulders จะมี หัวและไหล่ (ด้านซ้ายและขวา)  
มี Head and Shoulders ของขาขึ้น และ ขาลง 

ส่วนใหญ่จะเรียก head and shoulders ขาขึ้นว่า หัวตั้ง (ด้านบน) เมื่อเกิดแบบนี้แล้วจะเป็นการกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลงแรงๆ เสมอ

ลักษณะนี้จะมี หัวอยู่บนสุด และไหล่ทั้งซ้ายและขวาต้องไม่สูงกว่าหัว ถึงจะเรียกว่า head and shoulders (หัวตั้งด้านบน) เมื่อเกิดแล้วต้องสามารถลากเส้น neckline ได้เพื่อ confirm การลง


ส่วน Head and Shoulders ขาลง เรียกว่าหัวกลับ (ด้านล่าง) เมื่อเกิดแบบนี้แล้วจะเป็นการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้นแรงๆเสมอ
ลักษณะนี้จะมีหัวอยู่ล่างสุด และไหล่ทั้งซ้ายและขวาต้องไม่ต่ำกว่าหัว ถึงจะเรียกว่า head and shoulders (หัวกลับด้านล่าง) เมื่อเกิดแล้วต้องสามารถลากเส้น neckline ได้เพื่อ confirm การขึ้น ที่สำคัญ 

หัวต้องอยู่สูงและต่ำกว่าไหล่เสมอๆ ไม่ว่าจะมีไหล่ขวากี่ครั้ง ไหล่ซ้ายกี่ครั้ง แต่หัวต้องสูงกว่าและต่ำกว่าเสมอ ๆ ถึงจะเรียกว่า head and shoulders ของขาขึ้น ขาลงนั้น ๆ 


รูปแบบ Triple top และ Triple bottom 

Triple top ลักษณะจะเกิดการทำราคาดีดตัวไปชนแนวต้านที่เดียวกันถึง 3 ครั้ง
พยายามทะลุขึ้นไปต่อไม่ได้ ก็จะเกิดการกลับตัวลงอย่างแรงจนทะลุเส้น neckline ลงต่อไปได้
ก็จะเป็นการเกิด triple top เพื่อกลับตัวเป็นขาลง



Triple bottom ลักษณะจะเกิดการทำราคาดีดตัวไปชน แนวรับที่เดียวกันถึง 3 ครั้ง
พยายามทะลุลงไปต่อไม่ได้ ก็จะเกิดการกลับตัวขึ้นอย่างแรงจนทะลุเส้น neckline ขึ้นต่อไปได้
ก็จะเป็นการเกิด Triple top เพื่อกลับตัวเป็นขาขึ้น




บทเรียนโดย the_greenday แห่ง ThailandInvestorClub.com

Previous
Next Post »

1 ความคิดเห็น:

Write ความคิดเห็น