collectcoineasy

collectcoineasy

7 ธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งเอเชีย หันมาศึกษาเทคโนโลยี Blockchain อย่างจริงจังแล้ว

ลูกโลก มุมมองเอเชีย

จากที่ก่อนหน้านี้ สถาบันทางการเงินในแถบเอเชียเองก็ไม่ได้สนับสนุนระบบเงินดิจิตอลมากนัก ดังจะเหตุการณ์ที่ตลาดเทรดบิทคอยน์รายใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น Mt Gox พนักงานภายในได้ทำการยักยอกเงินลูกค้า เมื่อปี 2014 และธนาคารแห่งชาติของจีนเองก็เคยมีการปราบปราบตลาดรับซื้อขายบิทคอยน์กันมาแล้ว 

แต่ตอนนี้มุมมองของภาคธนาคารเกี่ยวกับเรื่องระบบเงินดิจิตอลได้เปลี่ยนไป เริ่มมองเห็นในสิ่งที่เงินสกุลดิจิตอลมี แต่ระบบเงินสด หรือระบบเครดิตไม่มี ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังเหล่าเงินดิจิตอลเหล่านั้น นั้นก็คือ Blockchain

 ซึ่งในแถบภูมิภาคเอเชียเพิ่งเริ่มมีการที่จะศึกษาระบบเทคโนโลยี Blockchain อย่างจริงจังเมื่อไม่นานนี้เอง โดยมีพี่ใหญ่ประเทศจีน และตามด้วยญี่ปุ่นที่เริ่มสนใจศึกษาเงินสกุลดิจิตัลและเทคโนโลยี Blockchain  ทั้งๆ ที่ภาคการเงินประเทศในแถบยุโรปและอเมริกาก็ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว อาจจะเพราะด้วยยังคงกัลวลในส่วนเล็กๆ น้อยๆ ของระบบ Blockchain ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ 
มาดูกันว่ามีธนาคารอะไรบ้างที่เริ่มมาศึกษาเทคโนโลยีของเงินดิจิตอล อย่างจริงจังบ้าง


1.Bank of Tokyo Mitsubishi ธนาคารที่มีสินทรัพย์มากเป็นอันดับ 8 ของโลก ดังที่มีข่าวเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ที่ธนาคารนี้ศึกษาระบบ Blockchain อย่างจริงจัง และยังต้องการสร้างเงินสกุลดิจิตอลของตัวเองภายใต้ชื่อว่า MUFG Coin อีกด้วย ซึ่งธนาคารเองเริ่มจากการใช้ระบบ P2P ในการเชื่อมต่อระหว่างกัน โดยหลักการใช้เหมือนกับ wallet ของบิทคอยน์ เพียงแต่ว่า ผู้ที่มี wallet ไม่ต้องทำหน้าที่เหมือน miner ในระบบของเงินบิทคอยน์ ใช้เป็นแค่เพียงการรับส่งเงินเท่านั้น เพื่อปลดล็อกในเรื่องค่าธรรมเนียมระหว่างธนาคาร
  2. KB Kook Min Bank ธนาคารสัญชาติเกาหลีใต้ ก็พึ่งได้ประกาศบริการใหม่ โดยมุ่งเน้นที่ "การรับส่งเงินระหว่างประเทศ ที่ปลอดภัยและรวดเร็ว" ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาและพัฒนาระบบ Blockchain โดยธนาคารเองได้ร่วมมือกับ Coinplug ที่เป็นผู้ให้บริการเกี่ยวกับบิทคอยน์ โดยจะเปิดระบบการแลกเปลี่ยนระหว่างบิทคอยน์และเงินกัน ซึ่งมองไปถึงสามารถแลกเปลี่ยนผ่านระบบ SWIFT ของแต่ล่ะธนาคารเลยทีเดียว


  3. DBS Bank มีข่าวว่าธนาคารจากประเทศสิงค์โปรได้ร่วมมือกับธนาคารระดับโลกอย่าง Standard Charter ในการนำระบบเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ โดยนำมาใช้เป็นโครงสร้างของบัญชีซื้อขาย (Trade Finance) ซึ่งทั้งสองธนาคารเองก็ได้ให้ข้อมูลกับ Bloomberg ว่า ได้มีการทดลองทำแล้ว และได้ทำสำเร็จในขั้นแรกเรียบร้อย ซึ่งทั้งสองธนาคารต่างก็จะร่วมพัฒนาและค้นหาเทคโนโลยีที่จะนำมาต่อยอดระบบนี้้ต่อไป รวมถึงระบบ R3CEV ที่ทาง Tod McDonald ได้เผยแพร่ไว้


  4. SBI Sumishin Net Bank ธนาคารที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง Sumitomo Mitsui Trust Bank และ SBI Holding โดยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ธนาคารสัญชาติญี่ปุ่นเจ้านี้ ได้ประกาศว่าตัวเองได้ทำการพัฒนารูปแบบของการยืนยันโดยมีระบบ Blockchain เป็นพื้นฐานในการนำมาพัฒนา เพื่อมาใช้ในระบบการบริการงานธนาคาร โดยได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัย Nomura Research ในการพัฒนาร่วมกัน โดยเป้าหมายของการพัฒนาคือ ธุรกรรมจาก Blockchain ที่ตรวจสอบได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มี สถาบันการเงินอื่นๆ เช่น Dragonfly Fintech Pte กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือน

  5. People's Bank of China  จากที่ได้ยินข่าวเว่า ธนาคารกลางแห่งประเทศจีน ได้มีแนวคิดที่จะสร้างเหรียญเงินดิจิตอลเป็นของตัวเอง โดยได้ระดมทีมงานที่ทำงานทั้งทางด้านการเงิน, สถาบันการวิจัยต่างๆ มาร่วมกันวิเคราะห์และพัฒนา ทั้งยังมีการรับข้อมูลผ่านทางธนาคาร Citibank และ Deloitte เป็นการเพิ่มน้ำหนักความน่าเชื่อถือจากข่าวที่ได้เผยแพร่มาอีกด้วย  




   6. Mizuho Bank ธนาคารจากประเทศญี่ปุ่น อีกธนาคารหนึ่งที่ได้เข้าร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ซึ่งอันที่จริงธนาคาร Mizuho เองก็ดำเนินงานเกี่ยวกับเงินดิจิตอลบิทคอยน์มานานแล้ว เพราะ ธนาคาร Mizuho เองก็เป็นหุ้นส่วนในตลาดแลกเปลี่ยนบิทคอยน์ Mt Gox ที่เกิดเรื่องกัน โดย Mizuho เองหวังว่าจากการเข้าร่วมพัฒนาระบบการเงิน R3 ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อาจทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของทางธนาคาร และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีใหม่กับธนาคารในทุกๆ ด้าน


7. Shinhan Bank จากที่มีกระแสการรับส่งเงินผ่าน Blockchain เป็นจำนวนมาก ระหว่างเกาหลีใต้และจีน โดยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มียอดการรับส่งเงินสูงเกีอบถึง 2ล้านดอลล์ล่า ธนาคาร Shinhan ประจำเกาหลีใต้ จึงพยายามที่จะหามาตรการมารองรับ ช่วยเหลือ การรังส่งเงินที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายนี้ ให้อยู่ในส่วนพื้นที่ที่ถูกต้องต่อไป  





ที่มาของข่าว coindesk





แจกบิทคอยน์และดอจน์คอยน์ฟรีคลิ๊กแบนเนอร์ด้านล่าง











  
Previous
Next Post »